วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 16

วันพฤหัสบดี ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555

เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

* นำเสนองานภาพปริศนาคำทาย

  

* ข้อเสนอแนะหลังการนำเสนอ
   1. จัดสัดส่วนองค์ประกอบของหน้ากระดาษยังไม่สมดุล
   2. ควรเขียนคำใบ้ให้อยู่หน้าเดียวกันกับภาพ
   3. ควรเขียนแยกคำให้ชัดเจน  เพื่อให้เด็กเล็กสามารถหัดอ่านได้สะดวกขึ้น

* นำเสนอสื่อเรื่องการประสมคำ " อักษร อ "


* ข้อเสนอแนะหลังการนำเสนอ
   1. ควรทำให้เป็นระเบียบเรียบร้อยมากกว่านี้

งานที่ได้รับมอบหมาย

1. ทำ Blog ให้เสร็จสมบูรณ์ ส่งภายในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555

วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 14

วันพฤหัสบดี ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ไม่ได้เข้าเรียน  เนื่องจากไปเข้าค่ายภาคสนาม 
ณ  ค่ายฝึกนักศึกษาวิชาทหารเขาชนไก่   จังหวัดกาญจนบุรี


( คัดลอกจาก นันทิดา )
  1. สอนการทำหนังสือนิทานสำหรับเด็ก  โดยการที่เราจะทำนั้น จะต้องเป็นอะไรที่หลากหลาย    
      สามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา  ไม่ตายตัว
  2. อาจารย์นำหนังสือนิทาน ตัวอย่างที่รุ่นพี่ได้ทำไว้มาให้ดู  เป็นหนังสือนิทานโดยใช้รูปเป็นสื่อ
      เป็นตัวเชื่อมกันกับคำถาม  ให้เด็กๆ ได้ทายว่าอะไร
  3. หลักในการทำ  เราตัองตั้งในคำถามที่ ใหญ่ก่อน เเล้วค่อยให้คำถามนั้นแคบลง
  4. งานที่สอง เป็นหนังสือนิทานเช่นเดียวกัน หน้าปกหนังสือ จะไม่มีชื่อบอกว่า หนังสือเป็นหนังสือ
      อะไร  และเดี่ยวจะให้เด็กๆ ได้ทายหลังจากที่เล่านิทานจบ  ว่าสุดท้ายเเล้วนั้นหนังสือนิทานเล่มนี้
      ชื่อว่า อะไร
  5. หนังสือนิทานเล่มนี้จะสังเกตได้ว่า  จะมีคำซ้ำๆอยู่ เนื่องจากต้องการให้เด็กนั้นได้ฝึกการสังเกต
      ระหว่างภาพกับคำที่ปรากฏ

การบ้าน
     ให้ทำหนังสือเล่มเล็ก  โดยให้เด็กนั้นได้มีส่วนร่วมในการทำ  เช่น เมื่อเราเลือกหัวข้อ ที่เราอยากจะทำ  หลังจากนั้นเลือกรูปให้เด็ก เลือกรูปที่ต้องการเเละฉีกมันออกมา  จากนั้นนำไปติดบนกระดาษที่เราเตรียมไว้ และพี่สังเกตพฤติกรรมของน้องในการฉีกรูปภาพด้วย   เเละสรุปให้เรียบร้อย
 
ไอคอน ดุ๊กดิ๊ก ทหารน้อยสุดซ่าส์, Icon Dukdik Soldier

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 15

วันพฤหัสบดี ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555

เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

* นำเสนองานหนังสือภาพ

 

* ข้อเสนอแนะหลังการนำเสนอ
   1. การนำเสนอพอใช้  แต่ควรเขียนคำให้ดูน่าสนใจมากกว่านี้

* ร้องเพลง ก-ฮ เพื่อนำไปสอนเด็กให้เรียนรู้พยัญชนะไทยได้โดยไม่ต้องท่องจำ

* เรียนรู้การทำสื่อ เรื่อง การประสมคำ

งานที่ได้รับมอบหมาย

1. แบ่งกลุ่มๆละ 5 คน ทำสื่อเรื่องการประสมคำ " อักษร อ " จำนวน 2 ชุด

วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 13

วันเสาร์ ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555  (สอนชดเชย)

เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

* กิจกรรมต่อเรื่องจากภาพ
                                                
แน้มและเพื่อนๆนั่งรถเมล์ไปเที่ยวสวนสัตว์                      แน้มเหลือบไปเห็นหอยทากบนรถเมล์
                                
เมื่อแน้มลงจากรถก็รู้สึกหิวจึงกินส้มที่ได้ซื้อมา   แน้มมองเห็นลูกโป่งรูปหมีแล้วอยากได้จึงเดินไปซื้อ
                                           
แน้มเดินเข้าในสวนสัตว์แล้วก็เจอลูกหมูตัวเล็กๆ    แน้มเดินไปที่สระน้ำก็เห็นปลาว่ายน้ำอยู่ในสระน้ำ
                                                  
แน้มก็เดินต่อไปเรื่อยๆเพื่อไปดูนกในกรงนก    และแน้มก็หยุดพักผ่อนที่สวนดอกไม้อย่างมีความสุข

* ข้อเสนอแนะหลังการนำเสนอ
    1. ครูต้องให้เด็กมีอิสระเล่าเรื่องราวตามความคิดของตนเอง
    2. ครูควรให้คำแนะนำ  เพื่อปรับปรุงเนื้อหา  ให้มีความสอดคล้องและเหมาะสมกัน
    3. ตอนจบของเรื่องควรเป็นการลงท้ายอย่างมีความสุข
    4. การที่ให้เด็กได้ทำกิจกรรมหลายๆครั้ง  ทำให้เด็กมีโอกาสในการเรียนรู้
    5. ครูต้องอำนวยความสะดวก  จัดกิจกรรมที่หลากหลาย  และศึกษาให้ดีเพื่อเป็นแบบอย่าง

* กิจกรรมนี้ช่วยส่งเสริมเด็กอย่างไรบ้าง
    1. การใช้ภาษา                        4. การผูกเรื่อง
    2. การเรียบเรียงประโยค        5. การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
    3. การเชื่อมโยง                       6. การกล้าแสดงออก

* จุดมุ่งหมายของการสอนภาษา  คือ  ภาษาเน้นการสื่อสารอย่างมีความหมาย

* ลักษณะของภาษา 
       ได้แก่ หัวข้อเนื้อเรื่อง  ประกอบด้วย  ชื่อคน  สัตว์  สิ่งของ  เหตุการณ์   และความสัมพันธ์

* กิจกรรมใช้ภาพแทนคำ
การใช้ภาพแทนคำ

* กิจกรรมทำท่าตามเสียงของชื่อตัวเองและชื่อเพื่อน

* รูปแบบของภาษา  
     เสียงสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์  คำที่มีความหมาย และซึ่งประกอบด้วย  3 ส่วน                          
คือเสียงที่เปล่งออกมาเป็นหน่วยลำดับคำหรือประโยค
     1. อักษรสูง มี 11 ตัว คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ส ษ ศ ห   ( ฉันฝากขวดขี้ผึ้งใส่ถุงให้เศรษฐี )
     2. อักษรกลาง มี 9 ตัว ก จ ด ต บ ป อ ฎ ฏ   ( ไก่จิกเด็กตายบนปากโอ่ง ฎ ฏ )
     3. อักษรต่ำ มี 24 ตัวแบ่งเป็น  
         - อักษรต่ำคู่ มี 14 ตัว คือ ค ฅ ฆ ช ซ ฌ ฑ ฒ ท ธ พ ฟ ภ ฮ  
            (พ่อค้าฟันทองซื้อช้างฮ่อ ฅ ฆ ฌ ฑ ฒ ธ ภ )
         - อักษรต่ำเดี่ยว มี 10 ตัว คือ ง ญ น ย ณ ร ว ม ฬ ล  
          ( งูใหญ่นอนอยู่ ณ ริมวัดโมฬีโลก )


* กิจกรรมท่อง ก-ฮ 
     1. เรียงเสียงที่เหมือนกันให้อยู่ใกล้กัน
     2. สระบางครั้งก็อยู่ข้างหน้าพยัญชนะ  บางครั้งก็อยู่ข้างหลังพยัญชนะ
     3. การผสมคำ
 การผสมคำ

วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 12

วันพฤหัสบดี ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

* การทำหนังสือภาพ  เน้นทักษะการอ่านและการเขียน
    1. เลือกความคิดรวบยอดที่ต้องการให้เด็กมีประสบการณ์ทางภาษา
        ( ภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อสารและแสดงความคิดรวบยอด )
    2. คำว่า " อะไร "  เป็นคำถามที่ใช้ผันเปลี่ยน
    3. ข้อสรุป  เป็นการบอกประโยชน์ให้แก่เด็กได้นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

* การสร้างภาพปริศนาคำทาย
    1. เลือกและกำหนดสิ่งที่ต้องการให้เด็กทาย
    2. วิเคราะห์ลักษณะของสิ่งที่กำหนดให้หลากหลายมากที่สุด
    3. เรียงลำดับลักษณะของสิ่งที่กำหนด  โดยเริ่มจากสิ่งที่มีความหมายกว้างก่อน
    4. นำมาจัดเรียงลำดับ
    5. แต่งประโยคที่มีคำซ้ำ

งานที่ได้รับมอบหมาย

1. แบ่งกลุ่มๆละ 4 คน  ทำหนังสือภาพ  และ ภาพปริศนาคำทาย

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 11

วันพฤหัสบดี ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากอาจารย์ไปอบรม
หมายเหตุ  ชดเชยการสอนโดยการทำงานหนังสือภาพ  และภาพปริศนาคำทาย

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 10

วันพฤหัสบดี ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

* ดูนิทานจาก E-book เรื่อง อนุบาลช้างเบิ้ม

* ดูนิทานจาก E-book เรื่อง แม่ไก่แดง  มีข้อควรปรับปรุงดังนี้
    1. รูปภาพกับชื่อเรื่องไม่สัมพันธ์กัน
    2. ตัวหนังสือเล็ก
    3. สีพื้นหลังเข้มเกินไป
    4. เสียงที่พูดกับตัวหนังสือไม่สอดคล้องกัน

* ข้อจำกัดของการเล่านิทานโดยใช้ E-book
    1. ไม่สามารถเล่าได้ในเวลาที่เด็กอยากฟัง
    2. เป็นการสื่อสารได้ทางเดียว
    3. ไม่สามารถปรับพฤติกรรมของเด็กได้ทันที

* ข้อดีของการเล่านิทานเอง
    1. สามารถสื่อสาร  ถามเด็กได้โดยตรงและทันที
    2. ไม่ปิดกั้นความคิดของเด็ก
    3. ปรับพฤติกรรมของเด็กได้ทันที

* ประมวลความรู้ เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ทางภาษาที่ครูต้องรู้มีอะไรบ้าง

* เพลงเป็นสื่ออย่างหนึ่งที่ใช้ในการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
    1. เพลง DOWN AND UP
               Down and up and we walk walk     Down and up and we walk walk  
               We walk to the left                           We walk to the right
               We turn around                                And we walk walk          
    2. เพลง หู ตา จมูก
               หู ตา จมูก จับให้ถูก        จับจมูก ตา หู
               จับใหม่จับให้ฉันดู            จับใหม่จับให้ฉันดู       
               จับ จมูก ตา หู                  จับ หู ตา จมูก
    3. เพลง แปรงฟัน
               แปรงซิแปรงแปรงฟัน       ฟันหนูสวยสะอาดดี
               แปรงขึ้นแปรงลงทุกซี่      สะอาดดีเมื่อหนูแปรงฟัน
    4. เพลง สวัสดี
               สวัสดี สวัสดี                       ยินดีที่พบกัน
               เธอกับฉัน                           พบกันสวัสดี
        ( เปลี่ยนเป็นคำทักทายของแต่ละประเทศได้ )

งานที่ได้รับมอบหมาย

1. หาความหมายของคำว่า  จิตตะ  วิมังสา
     จิตตะ    คือ  ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
     วิมังสา  คือ  ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น
   

วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 9

วันพฤหัสบดี ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

* ดูภาพจาก Power Point ภาพ   รักพ่อครับ ปฏิมา  นึกถึงอะไร
     1. นึกถึงพ่อ                  จากตัวหนังสือที่เขียนคำว่า   พ่อ
     2. นึกถึงความรู้สึก        จากตัวหนังสือที่เขียนคำว่า   รัก
     3. นึกถึงการมีมารยาท  จากตัวหนังสือที่เขียนคำว่า   ครับ
     4. นึกถึงชื่อของเด็ก      จากตัวหนังสือที่เขียนคำว่า   ปฏิมา
     5. นึกถึงพัฒนาการ       จากลายเส้นการเขียน
     6. นึกถึงโอกาสที่เขียน  เขียนเนื่องในโอกาสวันพ่อ
     8. นึกถึงวิธีการเขียน      เขียนจากคอมพิวเตอร์
     7. นึกถึงการคิด              การถ่ายทอดความรู้สึกออกมาเป็นตัวหนังสือ

* บทบาทหน้าที่ของครูในการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
     1. ถ้าเด็กยังใช้คำหรือเรียบเรียงคำไม่ถูกต้อง  หาวิธีแก้ไขโดยทางอ้อม  อย่าว่ากล่าวหรือ
         บอกโดยตรง   เพราะจะทำให้เด็กสูญเสียความมั่นใจ
     2. ยอมรับว่าเด็กมีความแตกต่างระหว่างบุคคล
     3. ความแตกต่างมาจากการอบรมเลี้ยงดู  เศรษฐกิจ  สังคม  และวัฒนธรรม      
     4. สภาพแวดล้อมมีอิทธิพลต่อเด็ก  ทั้งในและนอกห้องเรียน  ไม่ว่าจะเป็นคน  สัตว์  สิ่งของ
         วัฒนธรรมประเพณี  และที่มีอิทธิพลมาก คือ ครู 
     5. ครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็ก  ต้องมีทั้งศาสตร์และศิลป์
     6. ครูไม่ต้องสอนภาษาอย่างเป็นทางการมาก  เพราะเด็กได้ฟังและพูดจากการชีวิตประจำวันแล้ว
         รูปแบบทางการ  เช่น  การใช้วรรณกรรมเป็นฐาน     รูปแบบไม่เป็นทางการ  เช่น  การเล่าเรื่อง

* บลูม  ให้ความหมายเกี่ยวกับภาษา ไว้ 3 ประการ  คือ
     1. ภาษาเป็นสัญลักษณ์หรือรหัส      เช่น   คำว่า  "พ่อ"  เป็นตัวหนังสือ
     2. ภาษาเป็นมโนทัศน์เกี่ยวกับโลก   เช่น    คำว่า  "รัก"  เป็นการแสดงออกถึงอารมณ์ความรู้สึก
     3. ภาษาเป็นระบบมีกฏเกณฑ์           เช่น  มีประธาน  กริยา  กรรม    มีการโน้มน้าวด้วยไวยกรณ์

งานที่ได้รับมอบหมาย

1. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย  คนละ 1 กิจกรรม

 

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 8

วันอาทิตย์ ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555  (สอนชดเชย)

เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

* นำเสนอ VDO จากการถามเด็กเกี่ยวกับรูปภาพ

                     น้องมุก  อายุ 6 ปี  โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม  กรุงเทพฯ

* ข้อเสนอแนะหลังการนำเสนอ
       1. ต้องวางแผนให้เป็นระบบ  แบ่งหน้าที่ให้ชัดเจน
       2. คำถามควรถามว่า "เห็นภาพอะไร"   "ช่วยเล่าเรื่องให้ฟังหน่อย"  "ตั้งชื่อภาพว่าอะไรดี" 
       3. เมื่ออาจารย์มีข้อเสนอแนะ  ควรจะมีการบันทึกข้อเสนอแนะ

* ดู VDO เรื่อง การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน
   โดย  ดร.นฤมล  เนียมหอม


* ข้อคิดที่ได้จากการดู VDO
       1. การจัดประสบการณ์ทางภาษา  จัดได้หลายรูปแบบ  ทำให้เกิดโอกาสการเรียนรู้ได้มากขึ้น
       2. การจัดกิจกรรมต้องเริ่มต้นจากขั้นนำ
       3. ออกแบบกิจกรรมให้ตรงกับความต้องการของเด็ก  จะทำให้เด็กมีความสุข
       4. ครูต้องสังเกตใส่ใจเด็ก ให้เด็กมีส่วนร่วมให้มากที่สุด จะทำให้เด็กเกิดความกล้า 
           และมีความมั่นใจจากการได้เป็นที่ยอมรับของผู้อื่น
       5. ดนตรีทำให้เกิดความสุขในการใช้ภาษา  ทำให้เด็กรู้จักและสามารถแยกแยะโทนเสียงได้ 
           เพราะดนตรีมีจังหวะ
       6. การจัดการสอนภาษาแบบธรรมชาติ  เป็นการเชื่อมโยงทักษะการฟัง  พูด  อ่าน และเขียน
       7. ครูเป็นผู้เตรียมสื่ออุปกรณ์  และอำนวยความสะดวก

งานที่ได้รับมอบหมาย

1. หาความหมายของอิทธิบาท 4 
         อิทธิบาท แปลว่า บาทฐานแห่งความสำเร็จ
    หมายถึง สิ่งซึ่งมีคุณธรรม เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ มี 4 ประการ คือ
            1. ฉันทะ   ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
            2. วิริยะ     ความพากเพียรในสิ่งนั้น
            3. จิตตะ    ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
            4. วิมังสา  ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น

2. สมัครสมาชิกโทรทัศน์ครู
3. Link VDO เกี่ยวกับภาษาระดับปฐมวัยและระดับประถมศึกษา  อย่างละ 1 เรื่อง

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 7

วันพฤหัสบดี ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากอาจารย์ติดประชุม
หมายเหตุ  ชดเชยการสอนโดยการทำ Blog

วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 6

วันพฤหัสบดี ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555

ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากอาจารย์ติดประชุม
หมายเหตุ  ชดเชยการสอนโดยการทำ Blog

วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 5

วันพฤหัสบดี ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากอาจารย์ติดธุระ
หมายเหตุ  ชดเชยการสอนโดยการทำ Blog